Skip to main content

เรียนทำไร? EP.4 : วิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม

เรียนไปทำไร?

เรียนทำไร? EP.4 : วิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม

ชมคลิป https://www.facebook.com/kmitlofficial/videos/946919242934677

เกือบทุกคนมักจะมีคำถามว่า การทำเสียงประกอบเนี่ยมันต้องซื้อด้วยเหรอ ?

ปัจจุบันยังมีคนมองว่าสิ่งนี้เราต้องจ่ายด้วยเหรอ ดนตรีดีดีมันต้องจ่ายเหรอ

 

 

          สวัสดีครับ ผมอาจารย์ก๊อป ผศ.ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์ อาจารย์ประจำหลักสูตร วิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล.

“ดนตรี” ที่เหมือนจะเป็น “ศิลปะ” “วิศวะ” ที่เป็น “วิทยาศาสตร์” แล้วมันอยู่ด้วยกันยังไง ? เรามักจะมีทัศนคติว่า ศิลปะ กับ วิทยาศาสตร์ มันควรจะแยกกันอยู่ แต่ทีนี้พอเรารู้จักกับธรรมชาติของทั้งสองอย่างจริง ๆ แล้วเนี่ย วิทยาศาสตร์กับดนตรี มันมีจุดร่วมกันอย่างหนึ่ง คือ เสียงและการสั่นสะเทือน พอเรารู้ว่ามันมีจุดร่วมกัน เราก็เลยเลือกที่จะเข้าใจมัน เพื่อจัดการมันได้

 

         

          เรียนไปทำไร ? วิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม เราจะแบ่งออกเป็น 2 สาย สายแรกก็คือ Audio Engineering เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ ก็คือ Sound Engineer นอกจากนี้ยังมีพวกอุตสาหกรรมบันเทิง ยกตัวอย่างเช่น เสียงประกอบภาพยนตร์ เสียงประกอบแอนิเมชัน เกมส์ ในอุตสาหกรรมเกมส์ก็เริ่มมีเยอะขึ้นมาก ๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ส่วนในไทยก็เช่นกัน และยังรวมถึงการนำเสียงไปใช้ทางการแพทย์นำไปบำบัดผู้ป่วย และขยับถัดมาในมุมของสาย Acoustic Engineering อย่างเช่น การจัดการเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม ในเครื่องจักร ในโรงพยาบาล ที่เราเรียกว่า Noise Control ตัวอย่างที่สองที่เห็นได้ชัดก็คือ การออกแบบหอประชุม หอแสดง หรือแม้กระทั่งออกแบบห้องเก็บเสียง เราต้องการพื้นที่ส่วนตัวในห้องประชุม แทนที่จะออกแบบห้องใหญ่ ๆ ก็เข้าไปในตู้นี้แหละ แน่นอนในหลักสูตรต้องเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และฟิสิกส์ ดังนั้นน้อง ๆ ควรจะมีความรู้พื้นฐานนี้ สำหรับเด็กที่เรียนสายวิทย์ – คณิต หรืออย่างน้อยศิลป์ – คำนวณ มาเรียนกับเรา คำถามคือ ถ้าเป็นศิลป์ – ภาษา , ศิลป์ – ดนตรี เรียนได้ไหม ? คำตอบเลยคือ เรียนได้ครับ แต่คุณจะเหนื่อยมาก คุณต้องทำงานหนักมากเพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของเสียงก่อนแล้วมาต่อยอด ด้วยความที่ดนตรีเป็นภาษาสากลมีอยู่ทั่วทุกที่ บัณฑิตที่จบจากเราก็สามารถทำงานได้ทุกที่ เราจะไม่ได้มองแค่เฉพาะตลาดแรงงานในประเทศไทย อย่างรุ่นที่เพิ่งจบไปล่าสุด ก็มีไปทำงานเป็น Acoustic Engineer ที่สิงคโปร์ นั่นแปลว่าบัณฑิตของเรามีมาตรฐาน สามารถทำงานได้ในอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ

Share this page