Skip to main content

KMITL Expert EP.2

สุดล้ำ! จำลองรถไฟฟ้าใช้ได้จริงต่อยอดสู่อนาคต

เราอยู่ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ถ้าเราไม่พัฒนา เราก็ไม่ทัน…

การขนส่งทางราง เป็นอีกหนึ่งการขนส่งสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เราจะเห็นว่าปัจจุบันมีการขยายเส้นทางรับส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

และที่สำคัญไม่เพียงแค่ขนส่งผู้โดยสารได้อย่างเดียว แต่ยังสามารถขนส่งสินค้าอื่น ๆ ในปริมาณมาก ด้วยระยะเวลาที่เราสามารถกำหนดได้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งขนส่งที่ช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกือบทุกอุตสาหกรรมในโลก เริ่มตื่นตัว เพื่อปรับเปลี่ยน ขนส่งยุคใหม่ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้น

 

✦ ขนส่งยุคใหม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ถ้าเปรียบเทียบระบบการขนส่งทั้งหมด “การขนส่งทางราง” เป็นขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่ก็ยังคงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ดี ถึงแม้จะสร้างผลกระทบไม่มากเท่าขนส่งอื่น ๆ แต่ก็ยังไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100% สักเท่าไร

จากการพัฒนาระบบต่าง ๆ ทำให้ปัจจุบันการขนส่งทางราง เริ่มเปลี่ยนมาใช้หัวรถจักรไฟฟ้า เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

จึงทำให้เกิดโครงการ TRRN Railway Challenge 2024 การแข่งขันออกแบบหัวรถจักรไฟฟ้า ที่ร่วมมือกันระหว่าง ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดโอกาสให้นักวิจัย บุคลากร และนิสิตนักศึกษา แสดงผลงานด้านวิศวกรรมระบบราง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาต่อไปในอนาคต

 

✦ จากไอเดียสู่การลงมือปฏิบัติจริง

ดร.กลวัชร เฉลิมพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ – หลายปีก่อน เคยส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันไอเดีย ดีไซน์ คอนเซ็ปต์ พรีเซนต์ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนั้นทำให้เราได้รับรางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 50,000 บาท และรางวัลยอดเยี่ยมด้านการออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านการออกแบบทางวิศวกรรมวัสดุ รวมทุนการศึกษากว่า 9,000 บาท แต่การแข่งขันครั้งนี้ไม่เหมือนกับครั้งก่อน คือ เราต้องสร้างหัวรถจักรขึ้นมา แล้วเอาไปวิ่งจริงที่สนาม!